Your Logo
head dtg

 DTG (Direct to Garment) 

 

เทคโนโลยีงาน สกรีนเสื้อยืด โดยใช้เครี่องพิมพ์ Digital Printer พิมพ์ลวดลายลงบนเนื้อผ้าโดยตรง มีความละเอียดสูงเพราะมีหัวพิมพ์ ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ การพิมพ์หมึกลงบนเสื้อยืด ทำให้ไม่เสียรายละเอียดของแบบที่นำมาพิมพ์ลงเสื้อ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความรวดเร็วและตัดปัญหาเรื่องข้อจำกัดในการใช้สีที่ต้องการใช้ และไม่จำเป็นต้องสั่งทำเป็นจำนวนมาก

เทคโนโลยีดิจิตอลได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในธุรกิจสิ่งพิมพ์ประเภทกระดาษและได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพในด้านการพิมพ์ทั้งความรวดเร็วและต้นทุนที่ถูกลง ในขณะที่ทางฝั่งอุตสหกรรมสิ่งทอซึ่งต้องพึ่งพาแรงงานคนและเครื่องจักรอัตโนมัติก็ได้เริ่มมีการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาช่วยทุ่นแรงเพื่อเพิ่มความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันโดยเฉพาะในอุตสหกรรมสิ่งทอขนาดใหญ่ที่มีการนำเครื่องพิมพ์ดิจิตอลสำหรับพิมพ์ลวดลายลงเนื้อผ้าที่มีพื้นขนาดใหญ่เข้ามาใช้งาน

อย่างไรก็ตามในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมาอตุสหกรรมสิ่งทอขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับการสกรีนเสื้อโดยเฉพาะตามช้อปรันสกรีนเสื้อ ในยุโรปและอเมริกาก็เริ่มแพร่หลายในการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาช่วยในการสกรีนเช่นกัน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ DTG (direct to garment) printer ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวก็คือเครื่องพิมพ์เสื้อแบบอิงค์เจ็ทที่สามารถพิมพ์ลวดลายตรงลงสู่เนื้อผ้าได้เช่นเดียวกับการพิมพ์ตรงลงบนกระดาษ

dtg
pantone

จุดเด่นของเครื่องสกรีนเสื้อ DTG คือความรวดเร็วในการพิมพ์เสื้อจำนวนน้อยเช่นเดียวกับวิธีทรานเฟอร์ความร้อน กล่าวคือไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการในจัดตรียมบล๊อกเพื่อทำแม่พิมพ์บล็อกสกรีนเหมือนกับวิธีซิลค์สกรีนซึ่งต้องใช้เวลาและมีต้นทุนที่สูงกว่าไม่คุ้มกับการผลิตในจำนวนที่ต่ำโดยเฉพาะจำนวนที่น้อยกว่า 10 ตัว (โดยปกติขั้นต่ำของการรับสกรีนเสื้อแบบซิลค์สกรีนจะอยู่ที่ 30 ตัวขึ้นไปโดยราคาเริ่มต้นที่ 150-200 ต่อตัวสำหรับการผลิตที่ปริมาณน้อยและราคาจะถูกลงตามจำนวนออเดอร์ที่เพิ่มขึ้น) ในขณะเดียวกันเครื่องสกรีนเสื้อดิจิตอล DTG ยังมีข้อได้เปรียบกว่าการสกรีนทรานเฟอร์ตรงที่เป็นการพิมพ์ตรงลงบนเนื้อผ้าโดยไม่เหลือแผ่นฟิลม์เป็นกรอบทิ้งไว้บนเสื้อ ซึ้งให้ผิวสัมผัสที่ใกล้เคียงกับงานซิลค์สกรีนเชื้อน้ำ ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณภาพงานสกรีนเสื้อ DTG เช่นความสดของสี ความคงทนเมื่อนำไปซักล้าง ขึ้นกับเทคโนโลยีที่สนับสนุนโดยเฉพาะหัวพิมพ์และความละเอียดในการฉีดหมึก คุณภาพหมึกพิมพ์ และ ซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้โดยเฉพาะกับการสกรีนลงบนเสื้อสีเข้ม

 

เทคโนโลยีที่นำมาใช้กับการพิมพ์เสื้อ หัวพิมพ์ในเครื่องพิมพ์ประเภทอิงค์เจ็ทเปรียบได้ดั่งหัวใจของเครื่องพิมพ์ ดังนั้นในอุตหกรรมสิ่งพิมพ์ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ึแบบอิงเจ็ทจึงได้ทุ่มงบประมาณส่วนหนึ่งให้กับการวิจัยพัฒนาและทดสอบหัวพิมพ์และกลไกในการควบคุมการฉีดหมึกลงบนวัสดุเพื่อผลลัพธ์ด้านความคมชัดและลดการแห้งตันของหมึกพิมพ์ในหัวพิมพ์ เพื่อเป็นผู้นำในตลาดเครื่องพิมพ์ประเภทอิงค์เจ็ทสำหรับงานสิ่งพิมพ์บนกระดาษ สำหรับอุตสหกรรมการสกรีนเสื้อผู้ผลิตเครื่องพิมพ์เสื้อดิจิตอลที่มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณการลงทุนที่สูงมากจะหันไปพึ่งเทคโนโลยีหัวพิมพ์ของผู้ผลิตเครื่องพิมพ์สำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทกระดาษเจ้าใหญ่เจ้าหนึ่ง ซึ่งถือว่ามีคุณสมบัติเข้ากันได้มากที่สุดเมื่อนำไปใช้กับหมึกพิมพ์ประเภทพิกเมนต์(เนื้อหมึกมีความเข้มข้นสูง) สำหรับงานสกรีนเสื้อ โดยมีการนำมาดัดแปลงกลไกในการใส่ถาดป้อนที่เหมาะสมกับวัสดุที่ต้องการจะพิมพ์ เช่น เสื้อยืด แคนวาส หรือวัสดุอื่น ๆ ให้สามารถวางลงบนถาดป้อนได้ ส่วนบริษัทผู้ผลิตอีกกลุ่มหนึ่งที่มีงบประมาณการลงทุนรวมถึงมีประสพการณ์ทางด้านการผลิตเครื่องพิมพ์ก็จะใช้หัวพิมพ์ที่ผลิตภายใต้โนฮาวของตนเอง(หรือจ้างผลิต)เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในแข่งขันและควบคุมปัจจัยอันส่งผลต่อคุณภาพงานพิมพ์ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของผู้อื่น 

DTG
DTGMAC

เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ยังคงอาศัยหลักการของการสกรีนเสื้อแบบซิลค์สกรีนคือการพิมพ์ด้วยรองพื้นสีขาวแล้วจึงพิมพ์หมึกสีปกติตามลงไปเพื่อเน้นลวดลายให้คมชัดและมีความสว่างสดใส ซึ่งการพิมพ์ด้วยรองพื้นสีขาวจำเป็นต้องมีการแยกหัวพิมพ์หนึ่งชุดสำหรับสำหรับหมึกพิมม์สีขาวและอีกหนึ่งชุดสำหรับหมึกพิมพ์สีปกติแยกต่างหาก แล้วอาศัยซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการพ่นหมึกในเครื่องพิมพ์หรือที่เรียกว่า RIP (Raster image processing)  ซึ่งก็แตกต่างกันตามไปตามการเขียนโปรแกรมของแต่ล่ะเจ้าแต่ยังคงอาศัยหลักการแยกสี เช่นเดียวกับงานสกรีนเสื้อ (  Color separation screen printing ) คือพื้นที่พิมพ์ที่ต้องการให้ได้สีสดสว่างบนเสื้อสีเข้มหรือต้องการทำไฮไลท์จะมีการพิมพ์หมึกสีขาวรองพื้น ( white under base ) ตามที่โปรแกรมเป็นตัวแยกสีไว้ให้สำหรับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ถูกนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องสกรีนเสื้อในบางรุ่นก็จะมีการอบความร้อนเพิ่มอุณหภูมิบนเนื้อผ้าก่อนการพิมพ์ ( pretreated ) หรือทั้งก่อนและหลังเพื่อผลด้านความสดของสีและความอยู่ทนของหมึกในการยึดเกาะบนเส้นใยของผ้า ซึ่งก็จะมีทั้งการอบโดยอัตโนมัติและการอบด้วยวิธีแมนวล

logo