จากบทความ การเลือกซื้อเสื้อยืด ซึ่งจะอธิบายเกี่ยวกับเนื้อผ้า Cotton แล้ว ขั้นต่อมาคือการเลือกสกรีน

 การสกรีนก็คือการทำลวดลายบนตัวเสื้อ แบ่งเป็นหลักๆได้ 3 ระบบ(ชื่อทางการตลาดงานสกรีน) คือ

 

  1. สกรีนระบบบล็อกสกรีน (Silk Screen)
  2. สกรีนระบบรีดร้อน (Heat Transfer)
  3. สกรีนโดยตรง DTG (Direct To Garment)

 

สำหรับสกรีนระบบดิจิตอล บางร้านอาจจะใช้คำนี้ หมายถึงใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์ ก็อาจจะเป็นได้สองอย่างคือเป็น Heat Transfer  หรือ DTG เพราะกระบวนการพิมพ์ทั้งคู่ให้เครื่องพิมพ์ แต่เป็นเครื่องพิมพ์คนละชนิดกัน

 

  1. สกรีนระบบบล็อกสกรีน (Silk Screen)

 คือการสกรีนระบบโบราณสมัยเริ่มต้นสกรีนใหม่ๆ และยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน มีหลักการคือทำให้บล็อกสกรีนมีลวดลาย แล้วนำสีมาพิมพ์ผ่านลวดลายลงบนเสื้อ ก็จะได้เสื้อ หลักการนี้ถูกเอามาใช้หลายกระบวนการทั้งพิมพ์สิ่งพิมพ์ต่างๆ

 

ข้อดีของกระบวนการนี้คือ พิมพ์จำนวนเยอะมีราคาถูกเช่นเสื้อ 100 ตัว คิดค่าสีตัวละ 8 บาท ค่าสกรีนคือ 800 บาท ค่าใช้จ่ายให้การทำบล็อกสกรีนประมาณสีละ 150-250 บาท ถ้าสกรีนสีเดียวค่าสกรีนประมาณ 1000 บาทสำหรับสกรีน 100 ตัว แต่หากว่าเสื้อนั้นสีหลากหลายสี เช่น 8 สี แน่นอนว่าเสื้อ 100 ตัวนั้นราคาจะต้องแพงขึ้นมากทันที ราคาจะกระโดดถึง 8 เท่า หรือ 8000 บาท หรืออาจจะได้ลดลงกว่านี้ขึ้นกับการต่อรอง

 

ข้อเสียของกระบวนการนี้คือ ความละเอียดของงาน และ ความสะอาดของเสื้อ เพราะว่าการพิมพ์ผ่านตาข่ายนั้นขนาดไม่เล็กเกินไปทำให้เป็นรอยหยึกหยักภาพไม่คมได้ และไม่สามารถสกรีนตัวหนังสือเล็กๆได้ งานสกรีนบางทีอาจจะขาดหายไม่เท่ากัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะข้อจำกัดของสีและตาข่ายบล็อกสกรีน ส่วนความสะอาดของเสื้อเนื่องจากการสกรีนต้องวางเสื้อบนโต๊ะซึ่งต้องติดกาวเอาไว้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค หรือหากใช้กาวไม่ดีกาวก็จะติดเสื้อได้

 

 ต้นทุนสกรีนระบบบล็อกสกรีน (Silk Screen) ประมาณ 3-4 หมื่นบาท หลักๆเป็นค่าอุปกรณ์ โต๊ะสกรีน และ อุปกรณ์สกรีน ค่าสีสกรีนกิโลละประมาณ 80-150 บาท รวมๆแล้วควรมีเงินลงทุนประมาณ 5 หมื่นบาท

  1. สกรีนระบบรีดร้อน (Heat Transfer)

 โดยส่วนมากร้านมักจะโฆษณาว่า 1 ตัวก็สกรีนได้ หรือ สกรีนดิจิตอล ทีเป็นเช่นนี้เพราะ หลักการสกรีนของระบบนี้คือการใช้เครื่องพิมพ์ Ink Jet บรรจุน้ำหมึก Sublimation  ซึ่งหมึกชนิดนี้จะสามารถติดบนพลาสติกได้ และน้ำหมึก Pigment สำหรับสกรีนแบบกระดาษ Heat Transfer จึงแบ่งย่อยได้เป็น 2 แบบ

 1.1. วิธีการนี้นิยมมากที่สุด เรียกว่า Sublimation กระบวนการสกรีนเริ่มโดยการสั่งงานพิมพ์ลงบนกระดาษ Sublimation จากนั้นนำกระดาษที่พิมพ์ลายสกรีนไปวางบนเสื้อแล้วรีดด้วยเตารีด หรือเครื่องรีดร้อน เนื่องจากความร้อน หมึกที่อยู่บนกระดาษจะระเหิดไปเกาะบนเสื้อ ซึ่งเสื้อที่จะติดได้ต้องเป็นพลาสติกเท่านั้น เสื้อที่นำมาสกรีนด้วยวิธีนี้จึงควรเป็นเสื้อที่ผลิตจากพลาสติก Polyester ชื่อในทางตลาดคือ TK หรือ TC ที่พอมีส่วนผสมของ Cotton แต่ลายสกรีนอาจไม่เด่นชัดเท่า TK หากนำไปสกรีนลงบน Cotton เมื่อนำไปซักลายสกรีนจะค่อยๆหลุดออกจากเสื้อ

 ข้อดีของกระบวนการนี้คือ สกรีนได้หลายสี ต้นทุนถูก หมึกซึมไปในเส้นใยจับแล้วไม่รู้สึกถึงสีสกรีน และไม่ต้องใช้แรงงานในการสกรีน ใช้เพียง 1-2 คนก็สามารถทำงานสกรีนเป็น 1000 ตัวได้

ข้อเสียของกระบวนการนี้คือ ไม่สามารถพิมพ์ลงบนเสื้อเข้มได้ และไม่สามารถพิมพ์ลงบนเสื้อ Cotton ได้

 

 1.2. วิธีการนี้เรียกว่า Heat Transfer บางร้านอาจเรียก Sublimation ว่า Heat Transfer ซึ่งจริงๆแล้วมันแตกต่างกัน Heat transfer แปลตามชื่อก็หมายถึงการแลกเปลี่ยนความร้อน แต่ในงานสกรีนคือ การทำให้สีติดโดยใช้การแลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งยังแตกย่อยอีกหลายกระบวนการ แต่ที่นิยมในไทยจะเป็นการพิมพ์ลงกระดาษที่มีกาวเคลือบไว้ด้านหลัง ก่อนจะนำไปรีดต้องแกะด้านกาวออกก่อนเหมือนแกะสติกเกอร์ เมื่อนำไปรีดร้อนหมึก Pigment จะไม่ระเหิดแต่จะอยู่บนกระดาษ ส่วนกระดาษที่ใช้จะแตกต่างกันเพราะมันจะเคลือบกาวไว้เมื่อโดนความร้อนจากเครื่องรีด กระดาษนั้นจะติดกับเสื้อนั่นเอง เหมือนกับเฟล็กติดเสื้อฟุตบอล

 ข้อดีของกระบวนการนี้คือ สามารถสกรีนบนเสื้อเข้มได้ หรือเสื้อ Cottonได้

ข้อเสียของกระบวนการนี้คือ ภาพเป็นกรอบสี่เหลี่ยม หากจะตัดให้ได้รูปทรงต้องนำมาตัดด้วยเครื่องตัดสติกเกอร์อีกที อีกทั้งเสื้อสกรีนแบบนี้จะร้อนและหนักกว่าเพราะเหมือนมีกระดาษหนาๆไปแปะบนเสื้อ และ ลายสกรีนจะไม่คงทน เมื่อผ่านการซัก 4-5 ครั้งลายสกรีนอาจจะหลุดออกมาได้

 ต้นทุนสกรีนระบบรีดร้อน (Heat Transfer) ประมาณ 3-4 หมื่นบาท หลักๆเป็นค่าเครื่องพิมพ์ประมาณ์ 2 หมื่นบาท เครื่องรีดร้อน ประมาณ 1 หมื่นบาท นอกนั้นเป็นค่ากระดาษซับ(วัสดุสินเปลือง) ตกแผ่นละ 4-5 บาท (A3)รวมๆแล้วควรมีเงินลงทุนประมาณ 5 หมื่นบาท

 

  1. สกรีนโดยตรง DTG (Direct To Garment)

 คือกระบวนใหม่ที่ใช้หลักการนำหมึก Pigment มาสกรีนลงบนเสื้อโดยตรงเลย ด้วยเครื่องพิมพ์ผ้าโดยเฉพาะ หลักการการทำงาน นำเสื้อไปวางบนแท่นพิมพ์แล้วสั่งพิมพ์ จากนั้นนำมาอบสีให้แห้ง

 ข้อดีของกระบกวนการนี้คือ สกรีนได้หลายสี หมึกซึมไปในเส้นใยผ้า เหมาะกับการสกรีนลงบน Cotton โดยเฉพาะ สามารถพิมพ์ผ้าเข้มหรือผ้าดำได้ โดยมีกระบวนการเตรียมงานและเครื่องพิมพ์รองพื้นด้วยหมึกขาวก่อน ภาพสวย สกรีนคมชัดลายละเอียดสูงถึง 1200dpi (Silk Screen ปกติ 120 dpi) เป็นกระบวนการสกรีนเสื้อที่สกรีนภาพออกมาได้ดีที่สุดแล้วในปัจจุบันนี้

ข้อเสียของกระบวนการนี้ คือเครื่องพิมพ์มีราคาแพงมาก และต้องการการบำรุงรักษามาก ต้นทุนหมึกสูง ต้องใช้ทักษะในการทำงานสูง หากผู้ผลิตไม่มีความเข้าใจในการเตรียมงานจะทำให้งานพิมพ์ออกมาไม่ดีได้

 ต้นทุนDTG (Direct To Garment) ประมาณ 7-8 แสนบาท หลักๆเป็นค่าเครื่องพิมพ์ประมาณ์  7-8 แสนบาท (เครื่องนอก) เครื่องรีดร้อนประมาณ 2 หมื่นบาท ปั๊มลม และเสปรย์พ่น ประมาณ 5-6 พันบาท รวมๆแล้วควรมีเงินลงทุนประมาณ 1 ล้านบาท

  

จากบทความนี้ ท่านก็สามารถจะเลือกงานสกรีนที่ตรงกับความต้องการของท่านได้ เมื่อท่านเลือกการสกรีนได้ ท่านสามารถไปหาร้านสกรีนตามกระบวนต่างๆที่ว่ามานี้ได้ง่ายขึ้น